เรื่องมันต้องเริ่มจากการกำเนิดของ “เส้นแบ่งเขตวันสากล หรือ International Date Line” ในปี พ.ศ.2427 ที่ทั่วโลกเริ่มมีการคมนาคม และการเดินทางข้ามประเทศมากขึ้น จึงกำหนด เส้นแบ่งเขตวันสากล โดยใช้ “เส้นเมริเดียนหลัก Prime Meridian” จากเหนือจรดใต้ ผ่านกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเส้นเมริเดียนหลักนี้ตัดผ่านเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ ในสหราชอาณาจักร จึงเรียกว่า “เวลามาตรฐานกรีนิชหรือ GMT (Greenwich Mean Time)”
คือ เวลาตามนาฬิกาที่ประตู Shepherd ทางเข้าหอดูดาวที่เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน เป็นค่าเวลาที่คำนวณจากค่าเฉลี่ยเวลา ที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนหลัก และ อยู่ในตำแหน่งสูงสุดตอนเที่ยงวันในรอบ 1 ปี
นาฬิกาที่ประตู Shepherd ทางเข้าหอดูดาวที่เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน
นาฬิกาที่ประตู Shepherd ทางเข้าหอดูดาวที่เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน
เส้นเมริเดียน (Meridian Line) คือ เส้นลองจิจูด (Longtitude) เป็นเส้นสมมติที่วางตามแนวตั้งของโลก ใช้วัดพิกัดทางตัวเลขว่าเส้นลองจิจูดนั้นห่างจากเส้นเมอร์ริเดียนหลัก (Prime Meridian) เท่าไหร่ เส้นเมอร์ริเดียนหลักเป็นเส้นเริ่มต้นที่จะบอกพิกัดลองจิจูดในตำแหน่งต่างๆ พิกัดที่วางตัวอยู่บนเส้นเมอร์ริเดียนหลักนี้จะบอกค่าลองจิจูดเป็น 0 องศาลองจิจูด และทุก ๆ 15 องศาลองจิจูด มีค่าเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง วิธีคิดง่ายคือ
เส้นเมริเดียนที่เมืองกรีนิช ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เส้นเมริเดียนที่เมืองกรีนิช ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
โลกเป็นทรงกลม 360 องศาลองจิจูด
โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24 ชั่วโมง
ดังนั้น โลกหมุน 15 องศาลองจิจูด ใช้เวลา 1 ชั่วโมง (360 หาร 24)
แต่ประเทศต่างๆ ก็ไม่ได้มีอาณาเขตประเทศที่ตัดตรงกับเส้นลองจิจูดทั้งหลายเป๊ะๆ แต่ละประเทศจึงมีอิสระที่จะตัดสินใจว่าต้องการอยู่ด้านใดของเส้นแบ่งเขตวันสากล ซึ่งส่งผลให้เส้นแบ่งเขตวันสากลจะมีหน้าตาซิกแซกไปมาระหว่าง และบางประเทศก็ไม่สามารถกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศตัวเองได้เป็นหลัก 1 ชั่วโมง
จึงมีการตั้ง “เวลามาตรฐานโลก” หรือ เวลาสากลเชิงพิกัด (Universal Time Coordinated ตัวย่อ : UTC) หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) โดย UTC จะใช้ตัวเลข 30 หรือ 45 นาที เพิ่มเข้ามา
หากแบ่งตาม GMT จะได้เขตเวลา 24 โซน
หากแบ่งตาม UTC จะได้เขตเวลา 38 โซน
ยกตัวอย่างเช่น
ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไรถ้าหลายคนจะเข้าใจว่า “นิวซีแลนด์” เป็นประเทศ “ใหญ่” ประเทศแรกของโลกที่เข้าสู่ปีใหม่ แต่ข้อเท็จจริงที่จริงมานานแสนนานของโลกใบนี้ “ประเทศคิริบาส” ประเทศทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้ของหมู่เกาะฮาวาย คือประเทศแรกของโลก โดยที่ “เกาะคิริติมาติ” จะเป็นผืนดินผืนแรกที่เข้าสู่ศักราชใหม่ และต่อมาอีก 15 นาที “เกาะคริสต์มาส” คือพื้นที่แรกที่มีคนอาศัยจะตามเข้าสู่ปีใหม่
เกาะในประเทศคิริบาส
เกาะในประเทศคิริบาส
เส้นแบ่งเขตวันสากล หรือ International Date Line
เส้นแบ่งเขตวันสากล หรือ International Date Line
อันที่จริงหมู่เกาะคิริบาสเคยถูกเส้นเมริเดียนตัดผ่านกลางระหว่างประเทศ ทำให้มี 2 เขตเวลา แต่ต่อมาได้กำหนดให้เส้นเมริเดียนอ้อมประเทศทั้งหมด เพื่อให้ตัวเองเป็นประเทศแรกของโลกที่เข้าสู่ปีใหม่ และใช้เป็นจุดขายของประเทศที่ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว เพื่อเจอแสงแรกแห่งปี ประเทศคิริบาส เป็นประเทศที่มีทัศนียภาพสวยงามมาก โด่งดังเรื่องการตกปลา กิจกรรมดูนก การโต้คลื่น
นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมตกปลาที่เกาะคริสต์มาส ประเทศคิริบาส
นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมตกปลาที่เกาะคริสต์มาส ประเทศคิริบาส
ผู้คนสัญชาตินิวซีแลนด์ราว 1,200 คนที่อาศัยบนรัฐอิสระ “นีอูเอ” รัฐที่เล็กที่สุดในโลก และชาวอเมริกันใน “อเมริกันซามัว” เป็น 2 พื้นที่สุดท้ายของโลกที่จะเฉลิมฉลองช่วงเวลาแห่งความสุข ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ไปพร้อมๆ กัน
รัฐนีอูเอ
รัฐนีอูเอ
ข้อมูลที่น่าสนใจและขจัดความสับสนได้ คือ “ซามัว” และ “อเมริกันซามัว” ไม่ใช่ประเทศเดียวกัน โดยที่ “ซามัว” เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ชื่อในอดีตคือ เยอรมันซามัว หรือ ซามัวตะวันตก พื้นที่นี้มี 2 เกาะใหญ่ๆ
ด้านบนซ้าย ประเทศซามัว ด้านล่างขวา อเมริกันซามัว
ด้านบนซ้าย ประเทศซามัว ด้านล่างขวา อเมริกันซามัว
ทางตะวันตกคือ ซามัว ซึ่งเคยขึ้นอยู่กับนิวซีแลนด์ กระทั่งได้รับเอกราชในปี 2505 ส่วนอีกเกาะที่อยู่ทางตะวันออก คือ อเมริกันซามัว ชื่อก็บอกว่าเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกาและยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
2 เกาะนี้เคยเป็นพื้นที่สุดท้ายของโลกที่เข้าสู่ศักราชใหม่ แต่เมื่อปี 2554 “ซามัว” หรือซามัวตะวันตก ได้ข้ามเส้นแบ่งเวลา กำหนดให้ประเทศซามัว (เฉพาะเกาะทางตะวันตก) เปลี่ยน UTC จาก -11 เป็น +13 เพื่อให้เท่ากับนิวซีแลนด์นั่นเอง แต่ “อเมริกันซามัว” ยังคงใช้เวลาเดิม และเป็นพื้นที่สุดท้ายที่มีคนอาศัยอยู่ เข้าสู่ศักราชใหม่ของโลก
แต่หลังจากโลกหมุนไปอีก 15 องศาลองจิจูด หรืออีก 1 ชั่วโมง เกาะเบเกอร์ และ เกาะฮาวแลนด์ “เกาะที่ไร้ผู้คนอาศัย” คือผืนดินผืนสุดท้ายจริงๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า ทั้งโลกได้เข้าสู่ศักราชใหม่ 2567 แล้ว
ก็ถ้าจะบอกว่า “สหรัฐอเมริกา” เป็นประเทศสุดท้ายที่เข้าสู่ปีใหม่ 2567 ก็คงจะไม่ได้ผิดอะไร
รู้หมือไร่ : ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ทรงมีพระราชโองการกำหนดเวลามาตรฐาน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2463 ซึ่งตรงกับวันขึ้นปีใหม่นั้นสมัยนั้น โดยประเทศไทยมีเวลา UTC+7 นั่นก็คือเขตเวลาในประเทศไทยมีความไวกว่าเวลามาตราฐานอยู่ 7 ชั่วโมง
อ่านข่าวเพิ่ม :
“วัดอรุณฯ” จุดเคาท์ดาวน์โลก CNN ถ่ายทอดสด “New Year’s Eve Live”
ฉลองปีใหม่ 2567 แบบคนกรุง “ย่านไชน่าทาวน์เมืองไทย”
วันแรกคึกคัก นักท่องเที่ยวแห่เที่ยวงาน PATTAYA COUNTDOWN 2024
แจกพิกัดสถานที่เคาท์ดาวน์ รับปีใหม่ 2567 ทั่วกรุง